วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการแพทย์


นักเทคนิคการแพทย์ คือ นักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัยโดยใช้เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการประเมินสุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรคและความผิดปกติ การวิเคราะห์สารพิษสารปนเปื้อนต่าง ๆ ทั้งในร่างกายมนุษย์ อาหาร และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำการควบคุมคุณภาพและพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์
มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
การเรียนการสอนวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ เริ่มขึ้นที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแห่งแรก ในปีพ.ศ.2500 โดยมีที่ทำการอยู่ 2 แห่งคือ โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาคณะเทคนิคการแพทย์ที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้โอนมาเป็นภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแยกออกมาเป็นคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปีพ.ศ. 2534 ซึ่งนับเป็นสถาบันแห่งที่ 2 ที่เปิดการเรียนการสอนวิชาชีพนี้ ต่อมาจึงมีการตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งที่ 3 ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 แห่ง และมหาวิทยาลัยรังสิตก็เป็น
มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนคณะเทคนิคการแพทย์

คุณสมบัติของผู้ที่จะเรียนเทคนิคการแพทย์
1     จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทยาศาสตร์
2      มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อันไม่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพ
3     เป็นผู้ที่สนใจในงานค้นคว้าวิจัย มีความละเอียดรอบคอบและมีความรับผิดชอบสูง รวมทั้งต้องมีจิตใจรักการให้บริการแก่ผู้ป่วย การตรวจทางจุลชีววิทยาต้องการต่อหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร บริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ ศูนย์แลบ สายการบิน บริษัทประกันชีวิต เป็นต้น 
เทคนิคการแพทย์เรียนอะไร
การศึกษาเทคนิคการแพทย์ระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตร 4 ปี ได้รับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) โดยใน 2  ปีแรกจะเรียนวิชาพื้นฐาน ได้แก่ คณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ในปีที่ 3 และ 4 จะเรียนด้านวิชาชีพ ได้แก่ เคมีคลินิก โลหิตวิทยา จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา ปรสิตวิทยา ธนาคารโลหิต การวิจัย และการฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
เทคนิคการแพทย์ทำงานอย่างไร
นักเทคนิคการแพทย์ทำงานในห้องปฏิบัติการการชันสูตรโรค  ประกอบด้วยการตรวจต่าง ๆ ดังนี้
   การตรวจทางเคมีคลินิก
เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์สารต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ตรวจปริมาณน้ำตาล ไขมัน ฮอร์โมน โปรตีน
   การตรวจทางโลหิตวิทยา
เกี่ยวกับกำเนิดและพยาธิสภาพของเม็ดเลือด การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
การตรวจทางธนาคารเลือด
ศึกษาหมู่โลหิตต่าง ๆ เทคนิคการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด อาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการให้เลือด และวิธีการทางห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด
ศึกษาการเกิดโรคติดเชื้อ แนวทางการป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัยโรค และสามารถประยุกต์
นำความรู้มาใช้ในการควบคุมคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์
   การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา
ศึกษาการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การทดสอบวิทยาภูมิคุ้มกันในการช่วยวินิจฉัยและการรักษาโรคตลอดจนเทคโนโลยีใหม่ๆ
  การตรวจทางปรสิตวิทยา
เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ วงจรชีวิตของเชื้อปรสิตที่มีความสำคัญทางการแพทย์ การกระจายทางภูมิศาสตร์ตลอดจนแนวทางป้องกันการติดเชื้อปรสิตชนิดต่าง ๆ
  การตรวจทางพิษวิทยา
ศึกษาอาการ กลไกการรักษา การตรวจสอบความเป็นพิษทางชีววิทยา
นอกจากนี้นักเทคนิคการแพทย์ยังเป็นที่
จบเทคนิคการแพทย์แล้วจะเรียนต่ออะไรได้บ้าง
เมื่อจบปริญญาตรีเทคนิคการแพทย์แล้วสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกได้หลายสาชาวิชา ได้แก่ เทคนิคการแพทย์ จุลชีววิทยาเทคโนโลยีชีวภาพ นิติเวชศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ชีวเคมี บริหารธุรกิจ เป็นต้น
การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ในอดีตผู้ที่จะประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้นั้น จะต้องจบหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) และต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ ซึ่งออกโดยกองการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข แต่ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จะต้องขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์จากสภาเทคนิคการแพทย์